...

ภารกิจหลัก

ภารกิจหลัก 2 : ภารกิจด้านการบริการ

ภารกิจด้านการบริการ

1. งานบริการและวิจัยคลินิก

1.1 คลินิกป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

  • บริการตรวจและรักษา ผู้ถูกสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดด้วยการฉีดวัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
  • บริการฉีดวัคซีนป้องกันล่วงหน้าสำหรับผู้มีโอกาสสัมผัสโรคและกลุ่มเสี่ยง
  • เจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน
  • ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์

1.2 คลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว

  • บริการตรวจ ฉีดวัคซีนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวัคซีนชนิดต่างๆสำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ใหญ่และผู้เดินทาง
  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรับยาป้องกันมาลาเรียและการรับยาป้องกันก่อนเดินทางขึ้นที่สูง
  • เจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันก่อนรับวัคซีน
  • ทดสอบการติดเชื้อวัณโรค (PPD Test)

พร้อมออกเอกสารใบสำคัญรับรองการฉีดวัคซีนหรือยาป้องกันโรคระหว่างประเทศ(Yellow Book)/สมุดบันทึกวัคซีน/ใบรับรองแพทย์อื่นๆ

1.3 คลินิกพิษจากสัตว์

  • บริการตรวจ รักษาผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษกัด
  • ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์สำหรับประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์

เวลาทำการ

วันจันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 12.00 น. และ 13.00 -16.00 น.

วันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 08.30 – 12.00 น.

วันอาทิตย์ หยุดทำการ

นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันต่างๆเข้ามาศึกษาดูงานเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า และTravel Medicine โรคเขตร้อน และการให้วัคซีนในผู้ใหญ่และผู้เดินทาง รวมถึงพิษจากสัตว์ และกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขจากสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Asian Rabies Advisory Group of Experts (ARAGE)

สถานเสาวภาเป็นผู้ริเริ่ม จัดงานประชุม Asian Rabies Advisory Group of Experts (ARAGE) ในปี 2561 และปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์การระบาดรวมถึงแนวทางในการรักษาด้านโรคพิษสุนัขบ้าของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆในแถบเอเซีย โดยมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมคือ อินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ กัมพูชา พม่า มาเลเซีย เวียดนาม เนปาลและประเทศไทย

2. งานชันสูตรและวิจัยโรคในสัตว์ ให้บริการในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 8.30 -16.30 น. คือ

1. ตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้า จากซากสัตว์หรือในสัตว์ที่ยังมีชีวิต

1.1 จากซากสัตว์ ตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีมาตรฐาน 2 วิธี คือ Direct Fluorescent
Antibody Test (DFA) และ Mouse Inoculation Test (MIT)

1.2 สัตว์มีชีวิต ตรวจวินิจฉัยโดยการประเมินอาการทางคลินิกของสัตว์ป่วยที่ต้องสงสัย

2. กักกันสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือสัตว์ที่มีประวัติกัดคนไข้และมีอาการน่าสงสัย
เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า คัดแยกโดยการกักสัตว์ที่สัมผัสกับโรคพิษสุนัขบ้าออกเพื่อป้องการแพร่
ระบาดของโรค

3. บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยง

4. ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าและระบาดวิทยาโดยนายสัตวแพทย์

5. ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในกระแสเลือดของสัตว์เลี้ยง เพื่อการวินิจฉัย หรือเพื่อใช้
เป็นหลักฐานอ้างอิงในการนำสัตว์เลี้ยงเดินทางผ่านเข้าออกระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาขอรับบริการนอกเวลาราชการ ระหว่างเวลา 16.30 - 8.30 น.ของวันรุ่งขึ้น หรือในวันหยุดราชการตลอดทั้งวัน คือ

1. รับซากสัตว์นอกเวลาราชการเพื่อตรวจชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้าในวันทำการถัดไป

2. รับฝากขังสัตว์เพื่อดูอาการของสัตว์ป่วยที่กัดคนหรือสัตว์ที่มีอาการทางคลินิกในกลุ่มต้องสงสัยโรคพิษสุนัขบ้า

การตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการตรวจวิธีมาตรฐานหรือ Direct Fluorescent Technique ซึ่งมีความแม่นยำสูง รวดเร็ว และจำเพาะเจาะจง เป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการใช้กันทั่วโลก

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่มีอายุครบ 3 เดือน หรือเพิ่งได้รับมาเลี้ยงเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดซ้ำทุกๆปี

3. สวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

สวนงู สถานเสาวภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เนื่องจากในประเทศไทย ตั้งอยู่ในลักษณะภูมิประเทศที่มีงูอาศัยอยู่หลากหลายชนิด และในอดีตพบงูชุกชุมได้ทั่วไปจนเป็นสาเหตุ ให้มีประชาชนจำนวนมากถูกงูพิษกัด เเต่ในสมัยนั้นยังไม่มีเซรุ่มเเก้พิษงูรักษาผู้ที่ถูกงูพิษกัดในประเทศไทย ดร.เลโอโปลด์ โรแบรต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสถานเสาวภา จึงได้จัดหาเงินทุนในการสร้างสวนงูขึ้นในบริเวณของสถานเสาวภา เพื่อใช้เป็นสถานที่เลี้ยงงูพิษ สำหรับรีดพิษงู และนำไปผลิตเซรุ่มเเก้พิษงู จึงกล่าวได้ว่าสวนงู สถานเสาวภาก่อตั้งขึ้นเป็นแห่งที่ 2 ของโลก เเห่งเเรกของเอเชีย และยังเป็นหน่วยงานที่เป็นสัญลักษณ์โดดเด่นแห่งหนึ่งของสภากาชาดไทย

ปัจจุบันสวนงูมีภารกิจหลักอยู่ 3 ประการ ภารกิจแรก สวนงูเป็นสถานที่เลี้ยงงูพิษ เพื่อนำไปรีดพิษ สำหรับผลิตเซรุ่มแก้พิษงู ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการขยายขอบข่ายของงานเพิ่มเติมในส่วนของงานเพาะเลี้ยงงูเพื่อการอนุบาลและอนุรักษ์ชนิดพันธุ์งูที่สำคัญของประเทศไทย และงานด้านคลินิกรักษางู เพื่อตรวจดูแลสุขภาพงูให้แข็งแรงและรักษางูป่วยหรือได้รับบาดเจ็บในขณะที่ได้รับความช่วยเหลือมาจากภายนอก และในอนาคตจะมีการเปิดคลินิกสัตว์เลื้อยคลานเพื่อให้บริการตรวจรักษาสัตว์เลี้ยงกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานของประชาชนทั่วไป

ภารกิจที่สอง สวนงูเป็นแหล่งให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องงู พิษงู และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีเมื่อถูกงูกัด ผ่านรูปแบบของนิทรรศการสวนงู การเเสดงการสาธิตการรีดพิษงูและการจับงู โครงการอบรมเเละฝึกปฏิบัติจับงูให้เเก่บุคคลภายนอก การจัดการอบรมเเละกิจกรรมพิเศษต่างๆ รวมถึงการให้ความอนุเคราะห์วิทยากรไปบรรยายให้ความรู้นอกสถานที่ และการเผยเเพร่ความรู้และข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องงูและสวนงูผ่านทางสื่อช่องทางต่างๆ

ภารกิจที่สาม สวนงูเป็นแหล่งวิชาการ สถานที่ศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านพื้นฐาน และประยุกต์เกี่ยวกับเรื่องงูและพิษงูจนได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Center for Venomous Snake Toxicology and Research


การเปิดทำการ : เปิดทำการทุกวัน

  • วันจันทร์-วันศุกร์
    ตั้งเเต่เวลา 09.30 - 15.30 น.
    โดยจะมีการเเสดงการสาธิตการรีดพิษงู เวลา 11.00 น. และการเเสดงการสาธิตการจับงู เวลา 14.00 น.

  • วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
    เปิดทำการตั้งเเต่เวลา 09.30 - 13.00น.
    โดยจะมีการเเสดงการสาธิตการจับงู เวลา 11.00 น.